ไทยประกาศความพร้อมก้าวสู่ปีที่ 8 งาน “เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565” (BAFF 2022) วันที่ 20-25 ม.ค.นี้ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์อาเซียนสู่นานาชาตินานาชาติ

Last updated: 31 ม.ค. 2566  |  1018 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไทยประกาศความพร้อมก้าวสู่ปีที่ 8 งาน “เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร  2565”  (BAFF 2022) วันที่ 20-25 ม.ค.นี้  ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์อาเซียนสู่นานาชาตินานาชาติ

ไทยประกาศความพร้อมก้าวสู่ปีที่ 8 งาน “เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร  2565”
(BAFF 2022) วันที่ 20-25 ม.ค.นี้  ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์อาเซียนสู่นานาชาตินานาชาติ 

     วันที่ 9 มกราคม 2566  นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงาน “เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565” โดยมีนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร
ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม นายก้อง ฤทธิ์ดี รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์
น.ส.พิมพกา โตวิระ Programming Director ของเทศกาลภาพยนตร์ฯ นางยุวดี ไทยหิรัญ ผู้แทนภาพยนตร์
เรื่อง คนจร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ณ ศูนย์ประชุม ชั้น 8 อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์
กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

     นายอิทธิพล กล่าวว่า วธ. มีนโยบายส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและขยายตลาดภาพยนตร์อาเซียนสู่ระดับนานาชาติ รวมถึงผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ระดับแนวหน้าของเอเชียตามหมุดหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564) ดังนั้น วธ.ได้บูรณาการความร่วมมือกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2565 (Bangkok ASEAN Film festival 2022)  ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2566 ณ โรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีพิธีเปิดงานในวันที่ 20 มกราคม 2566 ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน และพิธีประกาศรางวัลและปิดงานในวันที่ 25 มกราคม 2566 ณ โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ โดยภาพยนตร์เปิดเทศกาลในปีนี้ได้แก่ หนังจากสิงคโปร์ เรื่อง Ajoomma ผลงานกำกับของ He Shuming ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีเยี่ยมจากเทศกาลระดับนานาชาติ หลายแห่งทั่วโลก

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า งานเทศกาลภาพยนตร์ฯได้เติบโตมาจนปีนี้ก็เป็นปีที่ 8 แล้วและได้รับการยอมรับจากเครือข่ายอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นหนึ่งในเทศกาลภาพยนตร์ที่มีความน่าสนใจในปฏิทินการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับสากล รวมทั้งกิจกรรมภายในงานเทศกาลภาพยนตร์ฯ ที่มีความน่าสนใจทั้งสำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และประชาชนทั่วไปที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์ต่างประเทศที่หาดูได้ยาก ประกอบด้วย

  1. ฉายภาพยนตร์อาเซียนฉายโชว์ เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวคุณภาพ 5 เรื่อง คัดเลือกภาพยนตร์คุณภาพการันตีรางวัลจากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน รวมทั้งประเทศภาคีความร่วมมือในทวีปเอเชีย ที่สร้างขึ้นไม่เกิน ปี 2564 และมีคุณค่าได้รับการเสนอชื่อเข้าร่วมฉาย ประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ระดับนานาชาติ หรือได้รับรางวัลจากเวทีการประกวดทั่วโลก
  2. จัดฉายภาพยนตร์ฮ่องกง 3 เรื่อง โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน Create Hong Kong (CreateHK)
  3. จัดฉายภาพยนตร์อาเซียนทรงคุณค่า (ASEAN Classic) 3 เรื่องจากไทย, ฟิลิปปินส์ และอินเดียที่คัดสรรมาให้ชมโดยหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)  

     จัดฉายภาพยนตร์ของสายการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน 14 เรื่อง จากผู้เข้าประกวดกว่า 150 เรื่อง พิจารณาตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งไทยและต่างประเทศ มีรางวัล ได้แก่

  1. BEST ASEAN SHORT FILM ได้รับโล่รางวัล และเงินสด 2,000  ดอลล่าร์สหรัฐ
  2. JURY PRIZE ได้รับโล่รางวัลและเงินสด 1,000  ดอลล่าร์สหรัฐ
  3. SPECIAL MENTION ผู้ได้รับโล่รางวัล และเงินสด 500 ดอลล่าร์สหรัฐ

ทั้งนี้ การจัดฉายภาพยนตร์ฯ มีบทบรรยายภาษาไทย-อังกฤษ เข้าชมฟรีทุกเรื่องทุกรอบ

ติดตามข้อมูลได้ที่ www.facebook.com/ BangkokAseanFilmFestival และเว็บไซต์ www.baff.go.th

 

  นอกจากนี้ มีกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ การประกวดโครงการภาพยนตร์ขนาดยาวอาเซียน (South East Asia Project Pitch หรือ SEAPITCH) ที่มีผู้สมัครกว่า 30 โครงการและคัดเลือกเหลือ 8 โครงการ โดยผู้ผลิตจากภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวคิดในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือก ผู้กำกับและโปรดิวเซอร์ได้เข้าอบรมพิเศษออนไลน์ด้านการนำเสนอโปรเจกต์กับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมตัวนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติและมอบรางวัลให้ผู้ชนะ 3 รางวัล ได้แก่
1. SEAPITCH Award ได้รับโล่รางวัลและเงินสด 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ 2. Runner-Up Prize ได้รับโล่รางวัล และเงินสด 3,000 ดอลล่าร์สหรัฐ 3. SPECIAL MENTION ได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐและการแถลงข่าวการเปิดตัวทุน Co-production จากหน่วยงาน Create Hong Kong (CreateHK) ในหัวข้อ “Introduction of Hong Kong Asian Film Collaboration Funding Scheme”

 

นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า ประเทศไทยโดยวธ.ได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2558 และต่อเนื่องถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 8 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อผลักดันใช้ “Soft Power”ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยเฉพาะด้านภาพยนตร์ทั้งในส่วนของประเทศไทยและกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเผยแพร่สู่ระดับนานาชาติและการจัดงานปีนี้เป็นการตอกย้ำ และประกาศศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์อาเซียนและชาติภาคีเอเชียในเวทีโลก


ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.baff.go.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้