ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังสัมมนาในหัวข้อ “ทิศทางอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ไทยภายหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019”วันเสาร์ที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.สถานที่: ณ ศูนย์ประชุมชั้น ๘ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฏ์ กระทรวงวัฒนธรรมภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (Covid-19) ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ นี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก ดังนั้นเพื่อร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๕๖๓ จึงได้จัดสัมมนาเพื่อหาทิศทางในการสร้างแนวร่วมของการช่วยเหลือกันของผู้เกี่ยวข้องที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีทัศน์ไทยในแง่มุมต่างๆการสัมมนาครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์จากวิทยากรหลายๆ ท่านผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวิดีท ัศน์ไทยเพื่อช่วยให้ผู้ผลิตภาพยนตร ์และผู้สนใจได้เข้าใจและรับรู้ถึงแนวทางและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ลงทะเบียนได้ที่นี่: www.baff.go.th/online-registration-film-seminarร่วมสัมมนาโดย:ตุสเซน ติองเดรเบโก (หัวหน้าฝ่ายความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรมองค์การยูเนสโก)ตุสเซน ติองเดรเบโก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Chief of the Diversity of Cultural Expressions Entity และยังเป็นเลขาธิการของ 2005 Convention on the Diversity of Cultural Expressions ตลอดช่วงชีวิตการทำงาน ติองเดรเบโก ทำงานในสายภาพยนตร์และสื่อโสตทัศน์มาตลอด เคยรับตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในองค์กรระหว่างประเทศหลายแห ่งรวมทั้งที่คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) และศาสตราจารย์พิเศษด้านวัฒนธรรมที่ Senghor University ในเมืองอเล็กซานเดรีย จากปี 2010 ถึง 2018 เขาเป็นผู้ประสานงานการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่ International Francophone Organization ตั้งแต่มาร่วมงานกับ UNESCO ในปี 2018 ติองเดรเบโกดำรงตำแหน่ง Head of the Programmes and Stakeholder Outreach Unit ในเดือนธันวาคม 2019 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น Chief of the Diversity of Cultural Expressions Entity และเลขาธิการของ 2005-----อนุชา บุญยวรรธนะ (สมาคมผู้กํากับภาพยนตร์ไทย )อนุชา บุญยวรรธนะ เป็นผู้กำกับชาวไทยที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติด้วยการผสมผสานภาพยนตร์ เนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลหลากห ลายทางเพศที่มีความละเมียดละไมเข้ากับความมืดมน เจ้าของผลงาน อนธการ (2015) และล่าสุดคือ มะลิลา (2017) ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมคิมจีซก (Kim Jiseok Award) จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซานประเทศเกาหลี มะลิลายังได้รับการเสนอชื่อ เข้าชิงรางวัล Asian Film Award สองสาขาคือผู้กำกับภาพยนตร์หน้าใหม่ยอดเยี่ยม (Best New Director) และดารานำชายยอดเยี่ยม (Best Actor – ศุกลวัฒน์ คณารศ)
มะลิลายังได้เป็นตัวแทนประเ ทศไทยเพื่อเสนอชื่อเข้าชิงร างวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภา ษาต่างประเทศยอดเยี่ยมในปี 2019 อีกด้วย
-----
ธนัญชนก สุบรรณ ณ อยุธยา (สมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกแห่งประเทศไทย)
ธนัญชนก สุบรรณ ณ อยุธยา เป็นผู้กำกับแอนิเมชั่นเจ้าของบริษัท Human Farm VFX Studio และอาจารย์พิเศษด้าน Visual Effect มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขายังเป็นเจ้าของผลงานมากมายทั้งสายโฆษณาและภาพยนตร์ อาทิ ภาพยนตร์เรื่อง ปืนใหญ่จอมสลัด และ พระมหาชนก
-----
พรชัย ว่องศรีอุดมพร (สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ)
พรชัย ว่องศรีอุดมพร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด
-----
ชยัมพร เตรัตนชัย (ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหา ร บริษัท Cinema 22)
ชยัมพร เตรัตนชัย เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารของ Cinema 22 ซึ่งให้การสนับสนุนคนทำหนัง ไทยที่กำลังเติบโตทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ ผลงานสำคัญคือการลงทุนในหนังเรื่อง ไม่มีสมุยสำหรับเธอ (Samui Song) ของผู้กำกับเป็นเอก รัตนเรือง และ ดาวคะนอง (By the Time It Gets Dark) ของผู้กำกับอโนชา สุวิชากรพงศ์
-----
อาทิตย์ อัสสรัตน์ (ผู้บริหารมูลนิธิภูรินทร์)
อาทิตย์ อัสสรัตน์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์และโปรดิวเซอร์ภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้แก่ Hi-So และ Wonderful Town ซึ่งชนะรางวัล New Currents Award จากเทศกาลภาพยนตร์ปูซาน และรางวัล Tiger Award จากเทศกาลภาพยนตร์รอตเตอร์ดัม อาทิตย์ยังเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์นอกกระแสของไทย อีกหลายเรื่องเช่น Mary Is Happy, Mary Is Happy โดยผู้กำกับนวพล ธำรงค์รัตนฤทธิ์ ซึ่งเปิดตัว ณ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส Eternity โดยผู้กำกับศิวโรจน์ คงสกุล ซึ่งได้รางวัล Tiger Award จากเทศกาลรอตเตอร์ดัม และ W โดยชลสิทธิ์ อุปนิขิต ซึ่งเปิดตัวที่ปูซาน ภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขา เป็นหนังสั้นในชุด Ten Years Thailand เปิดตัวที่เทศกาลเมืองคานส์ อาทิตย์ได้รับการคัดเลือกให ้เป็นศิลปินศิลปาธรเมื่อปี 2010
-----
ดำเนินรายการโดย: ก้อง ฤทธิ์ดี